|
กาวยูวี
UB-COTE UV102
(UV CURABLE VARNISH)
จากสภาวะทางเศรษฐกิจ และเทคนิคต่างๆ เป็นเหตุให้เกิดเทคโนโลยีการเคลือบวาร์นิชใหม่ คือใช้รังสีในการแห้งตัว กล่าวคือสารเคลือบยูวีจะแห้งตัวเป็นฟิล์ม 100 % โดยใช้พลังงานทำให้แห้งตัวเท่านั้น ซึ่งจะเห็นได้ว่าการแห้งตัวด้วยรังสียูวีดังกล่าวจะไม่ก่อให้เกิดมลภาวะ ได้ผลผลิตที่สูงและใช้พลังงานที่น้อย
สำหรับน้ำยาชนิดนี้ไม่เหมาะกับงานพิมพ์ทองเพราะความหนืดต่ำเมื่อเทียบกับชนิดอื่นๆ ในตลาด เกิดการระคายเคืองผิวน้อย
วัสดุหลังเคลือบจะเกิดความเงาสูง ไม่เกาะติดกันเมื่อเกิดการทับซ้อน พื้นผิวเคลือบเนียนเรียบ ไม่ออกเฉดสีเหลือง ผิวเคลือบไม่เกิดขูดขีดง่าย ไม่มีกลิ่นและไม่เป็นพิษ เหมาะกับงานพิมพ์กล่องของเล่น กระดาษที่เคลือบสามารถนำมาหมุนเวียนในการผลิตกระดาษใหม่ได้
การใช้งาน
ใช้ในงานเคลือบผิวกระดาษ กระดาษแข็ง และพลาสติกที่ต้องการความเงาสูง และยังใช้ได้กับผลิตภัณฑ์หลากหลายชนิด เช่น ฉลากอาหาร กล่องถุงมือแพทย์
โปสการ์ด โปสเตอร์ ปกสมุด การ์ด สมุด หนังสือ เมนูอาหาร ไพ่ กระดาษห่อของขวัญ
กระดาษกล่องชนิดต่าง ๆ
ข้อควรปฎิบัติ
- 1.เก็บไว้ในที่เย็นในที่ร่ม ห้ามวางตากแดด ไม่ควรโดนแสงอาทิตย์ หรือ วางใกล้แหล่งกำเนิดความร้อน
- 2.เมื่อเปิดใช้งานควรใช้ให้หมด หรือ ปิดผนึกให้เรียบร้อย และไม่วางไว้ในที่ที่โดนแสงแดด
- 3.ให้ใช้ แอลกอฮอล์ หรือ ไอโซโพรพิลแอลกอฮอล์ ในการทำความสะอาดเครื่องจักร
การบรรจุ (น้ำหนักสุทธิ)
5.ข้อมูลด้านอัคคีภัยและการระเบิด
5.1 จุดวาบไฟ ไม่มีข้อมูล
5.2 ขีดจำกัดการติดไฟ ขีดจำกัดบน หาไม่ได้ ขีดจำกัดล่าง หาไม่ได้
5.3 อุณหภูมิสามารถติดไฟได้เอง ไม่มีข้อมูล
5.4 การเกิดปฏิกิริยาทางเคมี เสถียร
5.5 สารที่ต้องหลีกเลี่ยงจากกัน ไม่มี
5.6 สารอันตรายที่เกิดจากการสลายตัวจากความร้อน ไม่มี
6.ข้อมูลเกี่ยวกับอันตรายต่อสุขภาพ
6.1 ทางเข้าสู่ร่างกาย ทางเดินหายใจ ตา ผิวหนัง ( R36/37/38 )
6.2 อันตรายเฉพาะที่ สัมผัสตาระคายเคืองเล็กน้อย ( R43 )
6.3 การสูดดมละออง มากเกินไปในระยะสั้น ๆ
6.4 ผลการสัมผัสสารที่มีปริมาณมากเกินไป ในระยะยาว เกิดการระคายเคือง ( R43 )
6.5 ค่ามาตรฐานความปลอดภัย ไม่มีข้อมูล
7. มาตรการด้านความปลอดภัย
- ข้อมูลป้องกันโดยเฉพาะทาง
- การป้องกันไฟและระเบิด ตามสภาพพื้นที่และสภาพแวดล้อม
- การระบายอากาศ ควรจัดให้มีการระบายอากาศตามสภาพแวดล้อมการทำงานทั่วไป
- ชนิดของอุปกรณ์ป้องกันทางการหายใจ ปกติไม่จำเป็น ( หน้ากากกันสารอินทรีย์และละอองถ้าจำเป็น )
- การป้องกันอันตรายที่จะเกิดขึ้นกับมือ ถุงมือยาง ป้องกันการสัมผัส
- การป้องกันอันตรายที่จะเกิดขึ้นกับตา ที่ครอบตาหรือแว่นตาปลอดภัย หรือหน้ากากป้องกันตา
- การป้องกันอื่น ๆ ควรจัดให้มีชุดล้างตัวและล้างตาฉุกเฉินไว้พร้อมใช้บริเวณทำงาน
- กรณีสัมผัสสารเคมีทางผิวหนัง ล้างออกด้วยน้ำและสบู่ ถ้าเกิดการระคายเคือง ให้รีบไปพบแพทย์
- กรณีสัมผัสสารเคมีทางตา ล้างด้วยน้ำนาน 15 นาที เป็นอย่างน้อย
- กรณีได้รับสารเคมีโดยการหายใจ ให้รับอากาศบริสุทธิ์
- ข้อมูลเพิ่มเติมในการรักษาพยาบาล กรณีกลืนกินเข้าไป ให้ดื่มน้ำเปล่า 2 แก้วแล้วพาส่งแพทย์หากหมดสติห้ามให้สิ่งใด ๆ ทางปากเพราะอาจสำลักได้
8. ข้อปฏิบัติที่สำคัญ
- การขนย้ายและการจัดเก็บ ปฏิบัติเหมือนการขนถ่ายทั่วไป
- การป้องกันการกัดกร่อนของสารเคมี ไม่เป็นสารกัดกร่อน
- การป้องกันการรั่วและการหก ไม่ควรวางแนวนอน
- การกำจัดสิ่งปฏิกูลที่เกิดจากสารเคมี ปฏิบัติตามกฎหมายเกี่ยวกับการเก็บหรือการทำลายสารนี้
- การใช้สารดับเพลิง สเปรย์น้ำ คาร์บอนไดออกไซด์ โฟมดับไฟ
9. คุณสมบัติด้านเคมี
ลักษณะสี : ของเหลวสีเหลืองใส
ข้อกำหนดการสัมผัสสารเกิน : ไม่ได้ประมาณไว้
อุณหภูมิที่ทำให้เสื่อมสภาพ : ไม่มีข้อมูล
ความหนืด : 30 – 40 วินาที ( 250c, Ford Cup # 4 )
กลิ่น : ไม่ฉุน
การละลายในน้ำ : ละลายในน้ำได้
ความคงตัว : สภาพคงที่ดีภายใต้สภาวะการใช้งาน
สภาวะการเกิดพิษ : ไม่เกิดขึ้น
สภาวะที่ควรหลีกเลี่ยง : ห้ามถูกแสงอาทิตย์โดยตรง ห้ามถูกความร้อนหรือรังสีอื่น ๆ หรือ ห้ามอยู่ในสถานที่มีควันไฟ
|